Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

4.4 ฐานการเรียนรู้ “อาหารพื้นบ้านชาวตาก”

สถานที่ตั้ง : อาคาร 1 ชั้น 2 ห้อง 1201

วิทยากรแกนนำ : นางกรรณิการ์ ผลพงษ์ และคณะ

วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้

1. เพื่อศึกษาอาหารพื้นบ้านจังหวัดตาก ( เมี่ยงจอมพล )
2. เพื่ออนุรักษ์อาหารพื้นบ้าน
3. เพื่อเกิดความภูมิใจในท้องถิ่นของตน
4. เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้

วิธีใช้ฐานเรียนรู้

1. ผู้เรียนศึกษาวิธีการทำเมี่ยงจอมพล
2. วางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน
3. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
4. ลงมือทำ
5. ประเมินผล

ข้อมูลความรู้

  • เมี่ยงคำเมืองตาก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมี่ยงจอมพล ลักษณะเด่น และส่วนประกอบของเมี่ยง คือ มะพร้าวขูด ข้าวตากแห้งทอด ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง แคบหมู มะนาว หัวหอมแดง ขิงหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พริกขี้หนูสด เต้าเจี้ยว ข้าวเกรียบชุบน้ำให้อ่อนตัว แล้วนำส่วนประกอบทั้งหมดห่อด้วยข้าวเกรียบ ใส่น้ำเต้าเจี้ยวห่อให้พอดีคำรับประทานเป็นของว่าง ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่นิยมกันมากในจังหวัดตาก และจังหวัดใกล้เคียง
  • แกงมะแฮ้(มะแฮะ) ใช้ถั่วมะแฮ้ต้มให้เปื่อยแล้วใช้พริกแกงส้มผสมปลาย่าง โดยเอาพริกแกงผัดกับหมูที่จะใส่แล้วใส่หม้อต้มรวมกับถั่วมะแฮ้ ปรุงรสตามชอบ ใส่น้ำปลา น้ำมะขามเปียก ใบชะอม กินกับข้าวเกรียบทอดหรือย่าง ถ้าจะให้อร่อยมากขึ้นต้องใส่ปลาร้าและใบส้มป่อย
  • ยำข้าวเกรียบ ใช้ข้าวเกรียบมีงาทำเองของพื้นบ้าน มายำรวมกับน้ำพริกกุ้งน้ำพริกเผาใส่ถั่วฝักยาว แครอท แค็บหมู

ประโยชน์

1. ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการทำเมี่ยงคำซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวจังหวัดตาก
2. ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอข้อมูลเรื่องเมี่ยงคำเมืองตาก
3. ได้อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดตาก และได้เผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวจังหวัดตาก และได้เผยแพร่วัฒนธรรมของจังหวัดตากให้มีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น




<-- กลับไปยังเว็บไซด์ศูนย์การเรียนรู้ที่ 4 ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น