Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

1.4 ฐานการเรียนรู้ “ธนาคารโรงเรียน”

สถานที่ตั้ง : อาคาร 2 ชั้น 1 ห้อง 2102

วิทยากรแกนนำ : นางจิราภรณ์ ทิอุด และคณะ

วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้

1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการออมทรัพย์ อย่างสม่ำเสมอ
2. เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนรู้หลักการบริหาร และการบริการที่ถูกต้อง
3. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักการทำงาน ร่วมกับผู้อื่น
4. เพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัย ด้านความรับผิดชอบให้กับนักเรียน
5. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้เวลา ในการทำกิจกรรม ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

วิธีใช้ฐานเรียนรู้

1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน(Hypothesis Formulation)

           ที่เกี่ยวกับความสำคัญ และประโยชน์ของบัญชีรายรับ - รายจ่ายของตนเอง /ครอบครัว และกระบวนการการออม รูปแบบของโครงการธนาคารโรงเรียน

           กิจกรรมที่ 1 ฝึกทักษะการแสวงหา และรวบรวมข้อมูล โดยจัดกิจกรรม ดังนี้
           1.1 ครูและนักเรียนสนทนา ถึงการดำรงชีวิตประจำวันของเรา เราต้องจัดการรายรับและรายจ่ายของตนเองและครอบครัว เพื่อสร้างชีวิตให้ดียิ่งขึ้นแล้วให้นักเรียน บอกถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการรายรับ และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว และบอกที่มาของจัดการรายรับ และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว (กิจกรรมที่ 1)
           1.2 นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมที่ 1 ใช้ระยะเวลา 1 สัปดาห์
           1.3 นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมที่ 1 เสร็จแล้วให้ผู้ปกครองลงนามรับรองผลงาน เสนอส่งผลงานผ่านกิจกรรมที่ 1

2. ขั้นสืบค้นความรู้ (Searching for Information)

           กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะการวางแผน
           2.1 ครูและนักเรียนสนทนา เรื่องข้อมูลที่มาของรายรับ และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว สิ่งที่ช่วยให้การจัดการรายรับ และรายจ่ายของตนเองและ ครอบครัวประสบความสำเร็จในการครองชีพ คือการวางแผนประมาณการ การใช้จ่ายเงิน (กิจกรรมที่ 2)
           2.2 นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมที่ 2 ใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์
           2.3 นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมที่ 2 เสร็จแล้วให้ผู้ปกครองลงนามรับรองผลงาน เสนอส่งผลงานผ่านกิจกรรมที่ 2

3. ขั้นสรุปองค์ความรู้ (Knowledge formation)

           3.1 นักเรียนศึกษาวิธีการทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายของตนเองและครอบครัวจากตัวอย่าง
           3.2 ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ โดยใช้หลักธรรมพื้นฐาน วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อรายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย
           3.3 นักเรียนบันทึกบัญชีรายรับ และรายจ่ายของตนเอง และครอบครัวประจำสัปดาห์ (กิจกรรมที่ 3)
           3.4 นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมที่ 3 ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน
           3.5 นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมที่ 3 เสร็จแล้วให้ผู้ปกครองลงนามรับรองผลงาน เสนอส่งผลงานผ่านกิจกรรมที่ 3

4. ขั้นการสื่อสารและการนำเสนอ (Effective Communication)

           กิจกรรมที่ 4 ขั้นสรุป
           4.1 นักเรียนสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้ เรื่องการทำบัญชีรายรับ และรายจ่ายของตนเอง และครอบครัว ทำแผนที่ความคิด ( Mind Mapping ) ( กิจกรรมที่ 4 ) ได้แนวคิดอะไรและนำไปใช้ ประโยชน์ได้อย่างไร
           4.2 นักเรียนนักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมที่ 4 ใช้ระยะเวลา 1 สัปดาห์
           4.3 นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมที่ 4 เสร็จแล้วให้ผู้ปกครองลงนามรับรองผลงานเสนอส่งผลงานผ่านกิจกรรมที่ 4
           4.4 ครูประเมินผลการเรียนรู้ ลงนามรับรองผลการปฏิบัติกิจกรรมฐานธนาคารโรงเรียน
           4.5 ครูสรุปผลการเรียนรู้ฐานธนาคารโรงเรียน
                   - เสนอผ่านหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                   - เสนอผ่านรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ
                   - เสนอผู้อำนวยการโรงเรียนตากพิทยาคมลงนามวุฒิบัตร

5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service)

           นักเรียนเผยแพร่ผลงานของตนเอง สามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ฐานธนาคารโรงเรียน เพื่อให้สมาชิกในโรงเรียนได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
           กิจกรรมฐานธนาคารโรงเรียน ผู้จัดกิจกรรมได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการกับการจัดกิจกรรม ซึ่งสามารถวิเคราะห์การจัดกิจกรรม กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นำไปสู่ความสมดุลยั่งยืนใน 4 มิติ

ข้อมูลความรู้

         นักเรียนรู้วิธีการวางแผนการใช้จ่ายของตนเอง / สมาชิกในครอบครัวรู้วิธีการการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย อย่างถูกวิธี ไปใช้ในครอบครัวของตนเอง รู้วิธีการมีออมเงินในอนาคต ฝากเงินไว้กับธนาคารโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ประโยชน์

1. เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบธนาคาร ของนักเรียนโรงเรียนตากพิทยาคม
2. นักเรียน คณะครู นักการภารโรง มีนิสัยรู้จักประหยัด วางแผนการใช้จ่าย ออมทรัพย์เพื่ออนาคต
3. ช่วยบรรเทาแก้ปัญหาทางการเงินของผู้ปกครอง
4. มีส่วนช่วยเหลือในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ
5. เป็นการดำเนินการโดยนักเรียนทุกตำแหน่ง/หน้าที่



<-- กลับไปยังเว็บไซด์ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้