ประชาคมอาเซียน 

      ในปี  2540 อาเซียนประสบกับมรสุมหนัก คือ วิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย 
หลังผ่านพ้นมรสุมดังกล่าวไปได้จึงเกิดศักราชใหม่ของความร่วมมือระหว่างกัน
โดยในปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน
ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord IIหรือ Bali Concord II) 
เพื่อประกาศจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community 
ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020)

     ประชาคมอาเซียน  ประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก  
เสาหลักแต่ละด้านมีวัตถุประสงค์ดังนี้
                             

http://www.pramanda.ac.th/asean/images/image/3pillars.jpg

                    “ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน” 
              ASEAN Political Security Community(APSC

          มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่างสันติสุข
โดยการแก้ไขปัญหาในภูมิภาคโดยสันติวิธีและยึดมั่นในหลักความมั่นคง
รอบด้าน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดย
          (1) ใช้ข้อตกลงและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักย-
ภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาค รวมทั้งการเผชิญหน้ากับ
ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้า 
มนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และการขจัดอาวุธที่มีอานุภาพทำลาย
ล้างสูง
          (2) ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคง และกำหนดรูป แบบใหม่สำหรับความร่วมมือด้านนี้ ซึ่งรวมถึงการกำหนดมาตรฐานการป้อง
กันการเกิดข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการสร้างเสริม สันติภาพ ภายหลังการยุติข้อพิพาท
          (3) ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล ทั้งนี้ ความร่วมมือข้างต้น
จะไม่กระทบต่อความเป็นอิสระของประเทศสมาชิก ในการดำเนินนโยบาย
การต่างประเทศและความร่วมมือทางทหารกับประเทศ นอกภูมิภาค และไม่ ่นำไปสู่การสร้างพันธมิตรทางการทหาร

                                       “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”
                 ASEAN  Economic Community (AEC

          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง
มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้ โดย
          (1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน
เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจน และความ
เหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2558
          (2) ทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว  (single 
marketand production base) โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ 
ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว
          (3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน เพื่อลด
เช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทาง
เศรษฐกิจของอาเซียน
          (4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค
ตลาดการเงินและตลาดทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย
การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยก 
ระดับการศึกษาและ การพัฒนาฝีมือแรงงาน

                           “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” 
               ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC

          มีจุดมุ่งหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน และเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
ของอาเซียน โดยมีแผนปฏิบัติการประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในหลายสาขาเช่น ความร่วมมือด้านการปราบปราม
ยาเสพติด การพัฒนาชนบท การขจัดความยากจน สิ่งแวดล้อม การศึกษา
วัฒนธรรม สตรีสาธารณสุข โรคเอดส์ และเยาวชนเป็นต้น เป็นกลไกสำคัญ
เพื่อการบรรลุจุดมุ่งหมายของประชาคมนี้ และรองรับการเป็นประชาคมซึ่ง
เน้นใน 4 ด้าน ได้แก่

(1) การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร
(2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
(3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่าง
     ถูกต้อง
(4) ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้
     ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งการรับรู้ข่าวสารซึ่งเป็นรากฐานที่
     จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน 


 

แหล่งอ้างอิง

1.  http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/

2. http://www.mfa.go.th/asean/th/home  (กรมอาเซียนกระทรวงการต่างประเทศ)

3. http://www.pramanda.ac.th/asean/index/gen-asean.html

 

 

 

 

    http://www.midlandfirefighters.com/HomeIcon.gif<-- กลับสู่หน้าหลักของศูนย์อาเซียนศึกษา  โรงเรียนตากพิทยาคม (ASEAN Studies Center of Takphitthayakhom School )    

 

        http://www.tps.ac.th/web1/file_editor/tps(1).jpg   <--  เข้าชมเว็บไซด์โรงเรียนตากพิทยาคม www.tps.ac.th